ที่จอดรถคนพิการ ใครมีสิทธิใช้ได้บ้าง ?

(อ้างอิงข้อมูลจาก mthai.com)

รู้ไหมว่า ... ที่จอดรถคนพิการ ใครมีสิทธิใช้ได้บ้าง?

ปัญหาที่จอดรถคนพิการ เป็นประเด็นกันมาอย่างยาวนาน และไม่มีทีท่าจะหายไป
ปัจจัยหลักของปัญหา น่าจะเกิดจากที่จอดรถมีไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่ไปในสถานที่นั้น ๆ
ยกตัวอย่างสถานที่ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือห้างสรรพสินค้า จึงทำให้มีผู้คนบางกลุ่ม
ที่ไม่ใช่ผู้พิการ เลือกที่จะจอดที่จอดรถของผู้พิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง 

แล้วใครล่ะที่จะสามารถใช้สิทธิจอดรถในซองจอดนี้ได้ ??

          อ้างอิงตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ในเรื่องของที่จอดรถ ที่อยู่ในหมวดที่ 4 รวม 3 ข้อ ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ ...

ข้อ 12. อาคารต้องจัดให้มีที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา อย่างน้อยตามอัตราส่วน ดังนี้

- ถ้าจำนวนที่จอดรถตั้งแต่ 10 คัน แต่ไม่เกิน 50 คัน ให้มีที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราอย่างน้อย 1 คัน

- ถ้าจำนวนที่จอดรถตั้งแต่ 51 คัน แต่ไม่เกิน 100 คัน ให้มีที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราอย่างน้อย 2 คัน

- ถ้าจำนวนที่จอดรถตั้งแต่ 101 คัน ขึ้นไป ให้มีที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราอย่างน้อย 2 คัน และเพิ่มขึ้นอีก 1 คัน สำหรับทุก ๆ จำนวนรถ 100 คันที่เพิ่มขึ้น เศษของ 100 คัน ถ้าเกินกว่า 50 คัน ให้คิดเป็น 100 คัน 


ข้อ 13. ที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราให้จัดไว้ใกล้ทางเข้าออกอาคารให้มากที่สุด 

          มีลักษณะไม่ขนานกับทางเดินรถ มีพื้นผิวเรียบ มีระดับเสมอกัน และมีสัญลักษณ์รูปผู้พิการนั่งเก้าอี้ล้ออยู่บนพื้นของที่จอดรถด้านที่ติดกับทางเดินรถ มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร และมีป้ายขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร ติดอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2,000 มิลลิเมตร ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน

ข้อ 14. ที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราต้องเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า

          กว้างไม่น้อยกว่า 2,400 มิลลิเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6,000 มิลลิเมตร และจัดให้มีที่ว่างข้างที่จอดรถกว้างไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร ตลอดความยาวของที่จอดรถ โดยที่ว่างดังกล่าวต้องมีลักษณะพื้นผิวเรียบและมีระดับเสมอกับที่จอดรถ


          จะเห็นได้ว่านอกจากคนผู้พิการหรือทุพพลภาพแล้ว ในข้อบังคับยังระบุถึงคนชราด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนอกจากข้อบังคับแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ การมีสำนึกสาธารณะ รวมไปถึงการเคารพต่อกฎกติกาของสังคม และข้อบังคับของตัวผู้ขับขี่นั่นเอง เพราะถ้าตัวผู้ขับขี่ยังขาดสิ่งเหล่านี้อยู่ ปัญหานี้ก็จะไม่มีวันจบสิ้น

TRAFEGO-200 (ทราฟีโก-200)

          ระบบงานพื้นปรับระดับได้ด้วยตัวเอง ชนิดโคล์ดพลาสติก ปราศจากตัวทำละลาย ประกอบด้วยส่วนผสม 2 ส่วน คือ ส่วน A เป็นส่วนของสี และ ส่วน B ที่เป็นตัวเร่งทำให้แข็งตัว มีความทนทาน สามารถใช้งานได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน 

✔ แห้งเร็ว
✔ ใช้งานง่าย
✔ ทนทานต่อสารเคมี
✔ ความทนทานต่อการขัดถูสูง
✔ ทนต่อความชื้น สภาพดินฟ้าอากาศ
✔ ยึดเกาะได้้ดีทั้งพื้นผิวคอนกรีต และยางมะตอย

เหมาะสำหรับนำไปใช้ในงานการทำเครื่องหมายผิวจราจร
ลูกศร หรือสัญลักษณ์ต่างๆ บนพื้นผิวถนน
บริเวณลานจอดรถ ทางเท้า ทางเดิน ทางจักรยาน เป็นต้น


ปรึกษาเรื่องระบบพื้น ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อ ติดต่อได้ที่ ...


ID Line : @vistainno

Tel : 02-1366273-5

www.vistainno.com


 






ความคิดเห็น